ความรู้เบื้องต้น โรคตาปลาที่นิ้วมือ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ตาปลา หรือ corns เป็นกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย สืบเนื่องมาจากเนื้อเยื่อที่เป็นชั้นบนสุดของผิวหนัง มีลักษณะหนาและบวมขึ้นมา เป็นลักษณะอาการที่หลายคนมองว่าไม่น่าจะรุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยให้อาการเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หนึ่งในอันตรายของโรค คือ การอักเสบและการติดเชื้อขั้นรุนแรงนั่นเอง

สาเหตุของการเกิดโรคตาปลาที่นิ้วมือ

แม้ว่าตาปลาจะเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย แต่อวัยวะที่มักจะพบว่าเป็นบ่อยมากที่สุด จะเป็นส่วนของนิ้วมือ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว คือ ผิวหนังในบริเวณนิ้วมือเกิดการเสียดสีและกดทับบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานาน มักจะเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้

1.ปัจจัยภายนอก

ซึ่งทางการแพทย์จะกล่าวว่า เกิดจากการกระทำของตัวผู้ป่วยเอง เช่น การใช้มือทำงานหนัก ขัดถูสิ่งต่าง ๆ ไม่สวมถุงมือป้องกันการเสียดสี หรือ อาจจะเป็นการดูดนิ้วแม่มือของตนเอง เป็นต้น ในการกระทำทุกอย่างที่ทำให้นิ้วเกิดการเสียดสีบ่อยครั้ง จะไปกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบนที่อยู่ใต้ผิวหนังเกิดพังผืดแข็ง ๆ หรือที่เรียกว่า ตาปลาขึ้นมารองรับการทำกิจกรรมเหล่านั้น

2.ปัจจัยภายใน

โดยในกลุ่มดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับโรคประจำตัวในบางกลุ่ม เช่น โรคที่ชื่อว่ารูมาตอยด์ จะทำให้ผู้ป่วยมีข้อนิ้วมือไม่แข็งแรง ผิดรูป เมื่อใช้มือในการทำงานตลอด อาการของโรคตาปลาก็จะเกิดขึ้นได้นั่นเอง

อาการของโรคตาปลาที่นิ้วมือ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

1.Corn

Corn หรือ คอร์น ลักษณะตุ่มและนูนขึ้นมาเหนือผิวหนัง ในการสังเกตตาปลาดังกล่าว ให้ลองใช้นิ้วกดที่บริเวณกลางตุ่มนั้น หากสัมผัสได้ถึงก้อนแข็ง ๆ ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ แต่ก็ยังสามารถแยกย่อยได้อีก 2 ชนิด

  • ตาปลาที่มีขอบแข็ง มีลักษณะแข็งมาก และผิวบริเวณรอบจะแห้ง แตก เป็นขุย หากสัมผัสลงไปจะรู้สึกเจ็บแปลบขึ้นมาได้ การรักษาต้องพบแพทย์ในการประเมินก่อน
  • ตาปลาอ่อน มีลักษณะที่อ่อนมาก ไม่มีอาการผิวแห้ง แตกเลย และในการรักษา สามารถใช้ใบมีดเฉือนออกได้เลย ทว่าต้องให้แพทย์ทำการรักษาเท่านั้น

2.Callus

Callus หรือ คัลลัส ลักษณะของตาปลาในกลุ่มนี้ จะมีความแตกต่างจากกลุ่มแรกชิ้นเชิง เพราะบริเวณที่ถูกเสียดจนเกิดการนูนตัวของผิวหนัง จะมีเพียงแค่ตุ่มนูนขึ้นมา ไม่มีก้อนแข็งด้านใน และผู้ป่วยแทบไม่รู้สึกอะไรเลยถึงความผิดปกติ นอกจากอาการคัน ทว่าหากมีขนาดของตาปลาที่ใหญ่ขึ้น อาการเจ็บถึงจะเกิดขึ้นได้

ความอันตรายของโรคตาปลา นอกจากจะเจ็บแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอีกหลายอย่างที่คาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว ดังตัวอย่าง

  • ตาปลาที่นิ้วมือมีอาการเจ็บ จะส่งผลเสียต่อการทำกิจกรรมประจำวันได้
  • ผู้ป่วยในบางคนมักจะรักษาเอง ด้วยการเฉือนเนื้อที่นูนทิ้ง ทว่าในความจริงแล้ว ในตุ่มนูนด้านในจะมีเชื้อของโรคตาปลาอยู่ ดังนั้นถ้านำออกไม่ถูกวิธี นอกจากไม่หายขาดแล้ว ยังก่อให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มได้
  • ตาปลาที่จัดอยู่ในชนิดอ่อนทั้งหมด เมื่อมีอาการไปนาน ๆ จะลอกตัว หรือ ลอกผิวหนังด้านนอกลอกออกเอง ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาการจะทรุดลงไวมาก
  • อาการตาปลา ยิ่งปล่อยนาน ยิ่งเสี่ยงต่อการอักเสบ และการติดเชื้อ

แนวทางในการรักษาโรคตาปลาที่นิ้วมือ แพทย์ที่รับผู้ป่วยเข้าไปรักษา เริ่มต้นจะต้องวินิจฉัยโรค และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว หลังจากนั้นจะวางแผนในการรักษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งแพทย์จะออกแบบแผนการปรับพฤติกรรมเป็นรายบุคคลไป หลังจากที่ทราบต้นเหตุของอาการ
  • ตาปลามีขนาดใหญ่ และอักเสบมาจนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แพทย์จะใช้การรักษาด้วยการเฉือนเนื้อในบริเวณที่นูนออกไป และใช้ยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
  • ใช้ยาในกลุ่มของ อะม็อกซีซิลลิน ลดการติดเชื้อ

ทั้งนี้หากไม่ต้องการให้ตนเองได้พบเจอกับโรคตาปลา พยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่มักเกิดการเสียดและกดทับเป็นเวลานานจะช่วยป้องกันได้