“ตด” พฤติกรรมเงียบที่หลายคนแอบยี๊! แต่บ่งบอกสุขภาพดีได้เหมือนกัน

สำหรับคำว่า “ตด” แล้ว เวลาได้ยินเรามักคิดถึงกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่เล็ดลอดออกมาจากจุดลับในร่างกาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ตดที่ออกมาจากร่างกายนั้นสามารถบ่งบอกความสมบูรณ์ของระบบภายในร่างกายและสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักความสำคัญของตดกัน

ตดคือ อะไร

ตด คือ กระบวนการทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับทุกคน โดยเป็นกระบวนการขับแก๊สที่มีอยู่ในระบบย่อยอาหารออกจากร่างกายผ่านทางช่องทวารหนัก เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ผายลม” ลมที่ออกมามีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น มีกลิ่นเหม็น ไม่มีกลิ่น มีเสียงดัง และไม่มีเสียงดัง เป็นต้น

สาเหตุการเกิดของตด

ตดเป็นลมที่เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย โดยเฉพาะแก๊สที่อยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ที่ไม่สามารถขจัดออกทางปากโดยการเรอได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดลมในระบบย่อยอาหารมีดังนี้

1.อาหาร

อาหารถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดตด เพราะอาหารบางชนิดเมื่อร่างกายทำการย่อยแล้ว จะมีองค์ประกอบจองแก๊สออกมาเป็นปริมาณมาก ร่างกายไม่สามารถนำออกมาได้ทั้งหมด จึงเกิดการสะสมเป็นแก๊สในระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สเป็นปริมาณมาก คือ

1.1 อาการที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม ขนมหวานอัดเม็ดที่มีซอร์บิทอล (Sorbitol)เป็นสารให้ความหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงของหวานและขนมหวานที่มีน้ำตาลรวมถึงฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลที่ให้ความหวาน เนื่องจากน้ำตาลฟรุคโตสเป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ จำเป็นต้องใช้เวลาและกระบวนการย่อยหลายขั้นตอน ร่างกายจึงจะสามารถดูดซึมมาใช้งานได้ ทำให้เกิดแก๊สเป็นจำนวนมาก

1.2 อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง โดยเฉพาะเป็นอาหารที่มีเส้นชนิดที่ละลายน้ำที่ย่อยยาก เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

1.3 อาหารประเภทแป้ง ส่วนมากจะเป็นแป้งที่มาจากธัญพืช เช่น ขนมปัง ข้าวโพด มันฝรั่ง เป็นต้น

1.4 อาหารประเภทนม เนื่องจากคนเราไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในน้ำนมได้ หรือถึงแม้จะย่อยได้ก็สามารถย่อยได้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ต้องใช้เวลาและกระบวนการย่อยที่นาน ส่งผลให้เกิดแก๊สขึ้นในระบวนการย่อยเป็นจำนวนมากด้วย

2.การกลืนอาหารในปริมาณมาก

เวลาที่เราดื่มน้ำหรือกินอาหารจะมีอากาศแทรกเข้าไปในปากและเข้าสู่กระเพาะอาหารด้วย ปกติร่างกายจะขับอากาศส่วนนี้ออกทางการเรอหรือการสะอึก แต่ถ้ามีปริมาณอากาศเข้าไปในปริมาณที่มาก จะไม่สามารถขับออกด้วยการเรอหรือสะอึกได้หมด จึงมีบางส่วนไหลเข้าไปสู่ระบบการย่อยอาหารและถูกขับออกมาโดยการตด ซึ่งการกินอาหารที่ทำให้มีอากาศเข้าสู่ระบบย่อยอาหารเป็นจำนวนมาก คือ การเคี้ยวหมากฝรั่ง การกินอาหารเร็ว การสูบบุหรี่ การพูดคุยเวลากินอาหาร เป็นต้น

3.ผลจากยารักษาโรค

ยาบางชนิดสามารถส่งผลข้างเคียงให้มีการเกิดแก๊สในระบบย่อยที่ทำให้เกิดการตด เช่น คาร์โบส (Acarbose) เป็นต้น

4.โรคบางชนิด

ผู้ที่มีระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติสามารถส่งผลให้เกิดแก๊สอยู่ในระบบย่อยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการตดมากขึ้น เช่น ลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อุดตัน กรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคโครห์น เป็นต้น

5.ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนการมีประจำเดือนหรืออยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ระยะนี้ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารทำให้มีการเกิดแก๊สเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการตดมากขึ้นได้

จะเห็นว่าสาเหตุการตดมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ซึ่งมีทั้งแบบที่รุนแรงและไม่รุนแรง ดังนั้นหากมีการตดเกิดขึ้นควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายร่วมด้วย เพื่อที่จะได้รู้สาเหตุที่แน่ชัดของการตดที่เกิดขึ้น

ตดแบบไหนที่อันตราย

อย่างที่เรารู้กันว่าตดมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งปกติแล้วคนเราจะตดประมาณ 6-20 ครั้งต่อวัน ดังนั้นการตดจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกับการตดต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาการร่วมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เกิดตด ซึ่งอาการร่วมที่เกิดขึ้นกับตดที่จัดว่าเป็นอันตราย คือ

1.มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูกเป็นประจำร่วมกับการตด

2.ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ และเวลาอุจจาระออกมามีเลือดปนออกมาด้วย

3.น้ำหนักตัวลดลงอย่างผิดสังเกต

4.ปวดหัว มีไข้ขึ้นสูง อาเจียน ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดข้อต่อ อาการเหล่านี้เป็นการบ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อที่ระบบย่อยอาหารของร่างกาย

รู้หรือไม่ การตดก็มีดีต่อร่างกายกว่าที่คิด!

การที่ร่างกายตดออกมาไม่ใช่ว่าเป็นการบ่งบอกความผิดปกติของร่างกาย แต่ตดยังมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย ดังนี้

1.ช่วยลดอาการท้องอืด

ท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นอาการที่มีแก๊สในระบบย่อยอาหารหรือลำไส้สูง ซึ่งการตดจะเป็นการระบายแก๊สออกจากร่างกาย ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

2.ส่งสัญญาณความผิดปกติ

หากตดมีกลิ่นเหม็นจัดหรือตดบ่อยมากกว่า 25 ครั้งขึ้นไป แสดงว่าระบบย่อยอาหารภายของร่างกายเกิดความผิดปกติหรืออาหารที่กินเข้าไปไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสุขภาพของร่างกายว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

จะเห็นว่าตด ถึงแม้จะเป็นเรื่องปกติของร่างกาย แต่ก็มีประโยชน์ที่สามารถบ่งชี้ถึงความผิดปกติของร่างกายได้ ดังนั้นควรสังเกตตดและอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับการตด โดยเฉพาะอาการไข้ร่วมว่ามีเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.rattinan.com/liposuction/